วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อุณหเคมี

อุณหเคมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เคมีความร้อน)
อุณหเคมี (อังกฤษThermochemistry) หรือ เคมีความร้อน เป็นการศึกษาพลังงานและความร้อนที่สัมพันธ์กับปฏิกิริยาเคมี หรือการแปรรูปทางกายภาพ ปฏิกิริยาอาจคายหรือดูดพลังงาน และการเปลี่ยนสถานะอาจทำอย่างเดียวกัน เช่น ในการหลอมเหลวและการเดือด อุณหเคมีมุ่งสนใจการเปลี่ยนแปลงพลังงานเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการแลกเปลี่ยนพลังงานของระบบกับสิ่งแวดล้อม

ที่มาข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/อุณหเคมี

ไฟฟ้าเคมี

ไฟฟ้าเคมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เคมีไฟฟ้า)

ไฟฟ้าเคมี (อังกฤษElectrochemistry) เป็นศาสตร์ของปฏิกิริยาที่ผิวหน้าสัมผัสของ วัสดุตัวนำอิเล็กโทรนิก(conductor material) ซึ่งเป็นอิเล็กโทรด (electrode) ที่อาจเป็นโลหะ หรือสารกึ่งตัวนำอย่างกราไฟต์ (graphite) และไอออนิกคอนดักเตอร์อิเล็กโตรไลต์ (electrolyte) ถ้าปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) เกิดจาก แรงดันไฟฟ้า(voltage) ภายนอกหรือถ้าแรงดันไฟฟ้าเกิดจากปฏิกิริยาเคมี ดังเช่นไฟฟ้าในแบตเตอรี่ (Battery) อย่างนีเราเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าโดยทั่วไปวิชาเคมีไฟฟ้า จะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) และปฏิกิริยารีดักชัน(reduction) และทิศทางของประจุไฟฟ้า (charge transfer) จากโมเลกุลหนึ่งไปยังที่อื่นจะไม่ถือว่าเป็นเนื้อหาในเคมีไฟฟ้า

ชีวเคมี

ชีวเคมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชีวเคมี (อังกฤษbiochemistry) เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ
ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุกๆ ด้าน

ที่มาข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/ชีวเคมี